‘สพฐ.’ จี้โรงเรียนจัดหลักสูตรเพิ่ม Active Learning

‘สพฐ.’ จี้โรงเรียนจัดหลักสูตรเพิ่ม Active Learning

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมโครงการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึฏษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) รับนโยบายจากรัฐบาล และ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่กำหนดแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ที่กำหนดเป้าหมายให้ผู้เรียนทุกกลุ่มวัย ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีทักษะที่จำเป็นของโลกอนาคต สามารถแก้ไขปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผล มีวินัย ใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เป็นพลเมืองรู้สิทธิและหน้าที่ มีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ

โดยในแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษานั้น กำหนดให้ส่งเสริมการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อให้นักเรียนมีสมรรถนะด้วย จึงเป็นหน้าที่ของ สพฐ.ที่ต้องมาดำเนินการขับเคลื่อนต่อไป

นายอัมพร กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา สพฐ.ได้ปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และได้ปรับปรุง พ.ศ. 2560 ไปแล้ว แต่วันนี้ สพฐ.ต้องการขับเคลื่อนหลักสูตรแกนกลาง ไปสู่กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เป็นรูปธรรม เกิดผลกับนักเรียนที่แท้จริง

‘สพฐ.’ จี้โรงเรียนจัดหลักสูตรเพิ่ม Active Learning

แม้ที่ผ่านมาสพฐ.อบรมครู เพื่อสร้างความเข้าใจในจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เกือบ 4 แสนคนแล้ว แต่ สพฐ.ต้องการให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างจริงจังในภาคปฏิบัติ ตนจึงเน้นย้ำกับผู้อำนวยการโรงเรียน และครูไปว่า แม้วันนี้เราจะมีหลักสูตรแกนกลางอยู่แล้ว แต่โรงเรียนต้องไปจัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมของตนด้วย

โดยการจัดการเรียนการสอน ให้เน้นการสอนตามหลักสูตรแกนกลาง 70% และสอนตามหลักสูตรที่จัดทำขึ้นอีก 30% และเมื่อได้หลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ของตนแล้ว ครูทุกคนต้องเอาหลักสูตรไปดูรายละเอียดพร้อมกับกำหนดหน่วยการเรียนรู้ ออกแบบการวัดและประเมินผล เพื่อที่จะสามารถตรวจสอบได้ว่าเมื่อเด็กเรียนแล้วเกิดสมรรถนะอย่างไรบ้าง

“ดังนั้นครูต้องปรับตัว ไม่ใช่สอนแบบหน้ากระดานเหมือนที่ผ่านมา แต่ต้องปรับตัวมาเป็นผู้สนับสนุน ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาการเรียนรู้ ส่วนผู้อำนวยการโรงเรียน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ต้องปรับตัวเช่นกัน ต้องส่งเสริมสนับสนุนครูในการวัดผลประเมินผล และการสร้างเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนต่อไป สุดท้ายถ้าเปลี่ยนหลักสูตร เปลี่ยนการเรียนการสอน เปลี่ยนการวัดและประเมินผล เปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของครูและผู้บริหารเพื่อให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกัน การขับเคลื่อน Active Learning จะเป็นไปตามความต้องการและตอบโจทย์ของสังคม เพราะสังคมปัจจุบันไม่ต้องการคนเก่ง แต่ต้องการคนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น” นายอัมพร กล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ sake-hakuchou.com

UFA Slot

Releated